บัญชี, การบัญชี
การสอบบัญชี
ภาษี
พรบ.การบัญชี
รับตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนการค้า
รับทำบัญชี
ตรวจสอบบัญชี
จดทะเบียนบริษัท
 
 
 
 
 
   
 
Monday, January 4, 2016
 

ข่าวบัญชี

 

จดทะเบียนเป็นบริษัท หรือเป็นบุคคลธรรมดา อย่างไหนดีกว่า?

ก่อนที่จะตัดสินใจ จดทะเบียนเป็นบริษัท หรือเป็นบุคคลธรรมดา
เราลองมาพิจารณาดูเงื่อนไขทางกฎหมายและทางธุรกิจดู

1. คุณจำเป็นต้องอาศัยความเชื่อถือที่ลูกค้ามีต่อธุรกิจของคุณหรือไม่?

(ในกรณีที่เป็นลูกค้าใหม่ แต่หากเป็นลูกค้าที่ค้าขายกันมานานแล้วประเด็นนี้คงข้ามไปได้เลย)

ข้อพิจารณา หากคุณตอบว่าจำเป็น เราก็ตอบได้เลยว่า ควรจดเป็นบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
เพราะหากคุณต้องการสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นแก่ลูกค้าเป้าหมายแล้วละก็ คงไม่มีทางหลีกเลี่ยงเป็นอย่างอื่น
เพราะจะทำให้ลูกค้าเป้าหมาย บุคคลทั่วไปเกิดความไว้วางใจได้ว่า เป็นบริษัทฯ มีความมั่นคง น่าเชื่อถือ คงไม่ใช่
มาทำธุรกิจเล่นๆหรอกน่า (ทั้งๆที่ความเป็นจริงแล้วการเป็นบริษัทก็ไม่ได้บอกเราได้ว่าจะไม่มีการหลอกลวงกัน)
หรือแม้แต่เจ้าหนี้การค้า หรือคนที่เราจะไปซื้อของหรือไปว่าจ้างให้เขามาทำงานให้ แม้แต่จะจ้างพนักงานให้มา
นั่งทำงานกับเรา เมื่อเห็นว่าเป็นบริษัท ก็จะให้ความเชื่อถือกันตั้งแต่แรกเลย ส่วนจะไว้วางใจกันมากน้อยเพียงไร
เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

2. ข้อดีข้อเสียที่ควรพิจารณาระหว่างนิติบุคคล กับ บุคคลธรรมดา

สรุปข้อดีข้อเสียระหว่างการ จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล กับการประกอบกิจการแบบบุคคลธรรมดา

รายการ การเป็นนิติบุคคล การเป็นบุคคลธรรมดา
จำนวนหุ้นส่วน เป็นการเข้าร่วมกันประกอบธุรกิจ อย่างน้อย2 คน
สำหรับห้างหุ้นส่วนจำกัด และต้อง มีผู้เข้าหุ้นอย่างน้อย
7 คนสำหรับบริษัทจำกัด
เป็นการดำเนินการโดยบุคคลคนเดียว
การระดมเงินทุน มีการระดมเงินทุนจากผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น
ทำให้สามารถ มีเงินทุนหมุนเวียน ในกิจการได้สูง
มีเงินทุนเพียงเท่าที่ตนเองลงไป
การระดมความคิด มีการระดมความคิดมันสมองเข้ามาใช้ในการดำเนิน
กิจการ ทำให้เกิดความหลากหลาย ในความคิด
และมุมมองแต่ขณะเดียวกันก็เป็นต้นเหตุของ
ความล่าช้าและขัดแย้ง
ทางความคิด
คิดเอง ทำเอง ตัดสินใจได้รวดเร็ว
ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนตามสถานะการณ์
โดยแทบจะทันทีทันใด
การตัดสินใจในการ
บริหารงาน
มีคณะกรรมการบริหาร หากต้องมีการตัดสินใจที่สำคัญๆ ต้องขอมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตัดสินใจด้วยตนเอง ไม่ว่าจะงานเล็ก
หรือประเด็นใหญ่
การแบ่งจ่ายผล
กำไรขาดทุน
แบ่งตามสัดส่วนการเป็นหุ้นส่วน สำหรับห้างหุ้นส่วนฯ และแบ่งจ่ายโดยการจ่ายเงินปันผล ตามจำนวนหุ้นของ
ผู้ถือหุ้นแต่ละคนว่าถืออยู่กี่หุ้น สำหรับบริษัทฯ
รับผลกำไรขาดทุนแต่เพียงผู้เดียว
การเสียภาษี เป็นการเสียภาษีจากยอดกำไรของของกิจการ
หากในการดำเนินการมีกำไร ก็จะต้องเสียภาษี
แต่หากขาดทุนก็ไม่ต้องเสียภาษี โดยหลักการคือการ
นำเอารายได้ หักค่าใช้จ่าย ที่เหลือคือกำไรที่ต้องนำมาเสียภาษี
เป็นการเสียภาษีแบบเหมาจ่าย
โดยการนำรายได้ของปีนั้นๆมาหักค่าใช้
จ่ายแบบเหมาจ่ายตามแต่ลักษณะธุรกิจ
เมื่อหักแล้วเหลือเท่าไรค่อยนำเอามา
คำนวนเพื่อเสียภาษีแม้ในปีนั้นขาดทุน
ก็ต้องเสียภาษี
อัตราภาษี เป็นแบบอัตราก้าวหน้า
กำไร 1 ล้านบาทแรก เสียภาษี 15 %
กำไรล้านที่ 2 ถึง 3 ล้านบาท เสียภาษี 25 %
กำไรตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษี 30 %
เป็นแบบอัตราก้าวหน้า
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 1 แสนบาทแรก ยกเว้นภาษี เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 1 แสน-5แสนบาทเสียภาษี10% เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 5แสน-1ล้านบาทเสียภาษ ี20% เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 1ล้าน-4ล้านบาทเสียภาษี30% เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย4ล้านบาทขึ้นไปเสียภาษี37%
การบันทึกบัญชี ต้องจัดให้มีการทำบัญชีและการสอบบัญชีโดย
ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์
(มีค่าใช้จ่ายในการทำบัญชีและการสอบบัญชี)
หากเป็นการคิดค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่าย ไม่ต้องมีการจัดทำบัญชี แต่หากเป็นการคิดค่าใช้จ่าย
ตามจริงก็
ต้องจัดให้มีการทำบัญชี
ความรับผิดของกิจการ หากเป็นบริษัทผู้ถือหุ้นจะรับผิดชอบเท่าที่หุ้นที่ถืออยู่
หากเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หุ้นส่วนจะรับผิดชอบเท่าที
ลงเงินไป
ผู้เป็นเจ้าของกิจการต้องรับผิดชอบไม่จำกัดวงเงิน
ความน่าเชื่อถือที่มีต่อ
บุคคลภายนอก
จะได้รับความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจจากบุคคลภายนอกมากกว่า ดูเป็นทางการมากกว่า อาจจะมองดูว่าไม่มีความมั่นคง ไม่ใช่มืออาชีพเป็นการ
ฉาบฉวย กลัวในเรื่องความรับผิดชอบ

3.หากจะเสียภาษีให้ประหยัดที่สุดควรเลือกจดแบบไหนดี

ข้อพิจารณา หากกิจการของคุณคาดการณ์ได้ว่าจะมีกำไรเกิน 1ล้านบาทต่อปี  หรือตอนนี้กำลังทำธุรกิจแบบบุคคลธรรมดาอยู่แล้วกำไรสุทธิก่อนภาษีกำลังจะเกิน 1ล้านบาท คุณควรเลือกที่จะจดทะเบียนเป็นแบบนิติบุคคล โดยมีทุนจดทะเบียนไม่ควรเกิน 5 ล้านบาทเพื่อให้เข้าเงื่อนไขSME ตัวอย่างเช่น คุณกำไร 3 ล้านบาท หากคุณเป็นนิติบุคคล คุณจะประหยัดภาษีได้ถึง 90,000 บาททีเดียว และหากคุณกำไร 5 ล้านบาท คุณจะประหยัดภาษีได้ถึง 160,000 บาท

 

ที่มา : cpaccount.net




   |   ข่าวบัญชี  |   บัญชี-การบัญชี   |   การสอบบัญชี   |   ภาษี   |   พรบ.การบัญชี   |   เครื่องหมายการค้า   |
บริการของเรา   :   รับทำบัญชี   |   ตรวจสอบบัญชี   |   จดทะเบียนบริษัท   |   ลิงค์สำคัญ  l  Site Map
จดทะเบียนธุรกิจ จดทะเบียนนิติบุคคล Copyright @ 2004 buncheeaudit.com - รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนบริษัท
6/792-3 ถนนรามคำแหง2 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250
Tel : 02-397-7201-2 , 02-720-9755-6 Fax : 02-397-7203